ออกกำลังกายอย่างไรให้ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
เคมีบำบัดและการรักษามะเร็งรูปแบบอื่นๆ สามารถช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยได้ส่วนหนึ่ง ดังนั้นการเพิ่มเติมความแข็งแกร่งให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคุณจึงเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากมันเป็นหนึ่งในอาวุธเพื่อใช้ต่อสู้กับโรคมะเร็ง
การออกกำลังกายทุกวันจะช่วยเสริมสร้างทั้งสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายของคุณ นอกเหนือจากการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงแล้ว การออกกำลังกายยังช่วยปลดปล่อย “ฮอร์โมนความสุข” ซึ่งจะช่วยปรับอารมณ์และทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม การมีไลฟ์สไตล์แบบไม่ค่อยจะขยับตัวเคลื่อนที่ไปไหนเลยย่อมทำให้กล้ามเนื้อของคุณอ่อนแอ แถมยังเป็นอุปสรรคขัดขวางร่างกายของคุณไม่ให้ทำงานอย่างเหมาะสม เรามี 5 วิธีในการผสานการออกกำลังกายให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคุณ
ประโยชน์ของการออกกำลังกายเป็นประจำสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
- ช่วยพัฒนาความสามารถทางร่างกายและความแข็งแรงของจิตใจ
- ลดผลข้างเคียงของการรักษาโรคมะเร็ง
- ช่วยปรับปรุงสมดุล และลดความเสี่ยงจากการล้ม ด้วยการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- ช่วยให้คุณสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างอิสระและกระฉับกระเฉง
- ช่วยปรับปรุงระบบไหลเวียนโลหิตให้ไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
- ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิต
- ช่วยควบคุมน้ำหนัก
- ลดความเหนื่อยล้าและความง่วง
- ช่วยปรับปรุงสุขภาพจิต สร้างความมั่นใจในตนเอง พร้อมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้า
และต่อไปนี้คือเคล็ดลับในการผสมผสานการออกกำลังกายให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของตารางกิจวัตรของคุณ
1. การออกกำลังไม่ควรจะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ
การผสมผสานการออกกำลังกายให้มีความหลากหลายนั้นมีประโยชน์ต่อทั้งร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก กิจวัตรประจำวันที่ต้องการความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนั้นมาจากการฝึกความต้านทาน ซึ่งจะใช้น้ำหนักและแถบความต้านทานเพื่อกระตุ้นการเติบโตของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้การฝึกความต้านทานยังช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกและลดความเหนื่อยล้า
นอกจากนี้คุณยังสามารถผสมผสานกิจกรรมที่เน้นความต้านทานกับการเคลื่อนไหวเข้าด้วยกัน เช่น การยืนขึ้นจากเก้าอี้พร้อมถือกระเป๋าของคุณเอง และการปีนเขาโดยใช้บันได
อีกทางเลือกที่เราอยากแนะนำคือการออกกำลังกายแกนลำตัวซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อแกนลำตัวของคุณจะถูกใช้ในการเคลื่อนไหวร่างกายทุกอย่างแม้ในขณะที่คุณนอนอยู่บนเตียง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเสริมแกนลำตัวของคุณให้แข็งแรงเพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระและป้องกันอาการบาดเจ็บ อย่างไรก็ตามหากคุณไม่ชื่นชอบวิธีการออกกำลังกายเหล่านี้ คุณสามารถลองเข้าคลาสโยคะสำหรับผู้เริ่มต้น หรือไม่ก็พิลาทิสซึ่งสนุกกว่าแทนก็ได้
2. การดื่มน้ำและเรื่องโภชนาการมีความสำคัญพอๆ การออกกำลังกายเลยทีเดียว
การดื่มน้ำทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ลองตั้งเป้าหมายการดื่มน้ำของคุณให้ได้อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร เพราะการดื่มน้ำอย่างเพียงพอจะช่วยทำให้การผลิตเหงื่อดีขึ้น และป้องกันไม่ให้ร่างกายร้อนเกินไปซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ผสมผสานการดื่มน้ำเข้ากับโภชนาการที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นแผนคุมอาหารที่เน้นทั้งธัญพืช เนื้อไม่ติดมัน และอาหารโปรตีนสูง เช่น พืชตระกูลถั่ว ปลา และอาหารไขมันต่ำ มันจะช่วยให้ร่างกายของคุณฟื้นฟูได้ดีขึ้นอย่างเหมาะสม
3. กิจกรรมที่คุณทำทุกวันก็สามารถฝึกร่างกายได้
หากคุณไม่ชื่นชอบโปรแกรมการฝึกแบบเฉพาะเจาะจงก็ไม่เป็นไร กิจวัตรประจำวันสามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีกองเสื้อผ้าสองกองขนาบข้างของตะกร้าผ้าที่ว่างเปล่า ให้คุณเลือกเก็บเสื้อผ้าจากทั้งสองกองก่อนที่จะโยนลงในตะกร้า ทำซ้ำเป็นประจำทุกวันเพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อของคุณ จากนั้นค่อยๆ เพิ่มความหนักให้ร่างกายด้วยกิจกรรมที่เข้มข้นมากขึ้น เมื่อร่างกายของคุณเริ่มรู้สึกเคยชินกับกิจกรรมที่อยู่
4. จงฟังร่างกายของคุณ
ความเข้มข้นที่แนะนำในการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นแตกต่างกัน สำหรับผู้ใหญ่โดยเฉลี่ยแล้วแนะนำให้ออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นปานกลางประมาณ 150 นาที หรือ 75 นาทีต่อสัปดาห์ อย่าลืมฟังร่างกายของคุณก่อน แล้วเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมที่สุดกับเป้าหมายของคุณ
5. มุ่งสู่เป้าหมายไปกับบัดดี้ของคุณ
เพื่อความสม่ำเสมอในการออกกำลังกาย เราขอแนะนำให้คุณฝึกกับบัดดี้ที่สามารถกระตุ้นและสร้างกำลังใจให้คุณได้ เขาคือคนที่จะคอยผลักดันให้คุณก้าวผ่านแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่คุณขาดแรงจูงใจในการออกกำลังกาย แชร์เป้าหมายและความคิดซึ่งกันและกันจนเป็นนิสัย มันจะช่วยให้คุณทั้งคู่ออกกำลังกายได้อย่างตื่นเต้นเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้น
การออกกำลังกายในระหว่างการฟื้นตัวจากโรคมะเร็งเป็นสิ่งที่แพทย์ทั่วโลกแนะนำ เพราะมันจะช่วยให้คุณรับมือกับผลข้างเคียงของการรักษา เช่น ความเหนื่อยล้า อาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร โรคโลหิตจาง โรคซึมเศร้า และความวิตกกังวลได้เป็นอย่างดี แต่ก่อนที่คุณจะสร้างแผนออกกำลังกาย คุณควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโปรแกรมการฝึกที่เหมาะสมกับคุณที่สุดเสียก่อน